หน่วยที่ 4 ความปลอดในชีวิต ป.6






เรื่องความปลอดภัยในชีวิต







นักเรียนมาศึกษาความรู้จากลิงค์ เรื่องภัยธรรมชาติ กันนะครับ


ขอให้ผู้ปกครองช่วยให้คำแนะนำแก่นักเรียนในเรื่องนี้ด้วยนะครับ

เด็กๆครับ มารู้จักกับเนื้อหาเกี่ยวกับ เรื่องภัยธรรมชาติ


เรื่องภัยธรรมชาติ   (ชั่วโมงที่ 1)


           ภัยธรรมชาติ  เป็นภัยที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะของอากาศและการเปลี่ยนแปลงทาง

           ภูมิศาสตร์ ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นมีหลายรูปแบบ เช่น

             1. อุทกภัย หรือภัยจากน้ำท่วมเกิดจากสาเหตุสำคัญ 2 สาเหตุ คือ น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วม

                 ฉับพลัน ส่วนใหญ่เกิดจากลมพายุ และฝนที่ตกหนักติดต่อกันหลายวัน ทำให้พื้นดินดูดซับน้ำ

                 ไม่ทัน เพราะไม่มีป่าไม้ช่วยดูดซับน้ำ จึงทำให้น้ำไหลท่วมบ้านเรือนอย่างรวดเร็ว และก่อให้

                  เกิดผลกระทบมากมาย


เมื่อเกิดอุทกภัยในชุมชน จะทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของชาวบ้าน

              2. วาตภัย  คือ ภัยที่เกิดจากพายุลมแรง สามารถแบ่งลักษณะของวาตภัยได้ 2 ประเภทใหญ่

                  ดังนี้

                    2.1 พายุหมุนเขตร้อน เป็นพายุหมุนขนาดใหญ่ ที่เกิดขึ้นเหนือทะเล โดยมีชื่อต่างกันตาม

                          สถานที่เกิด เช่น ไต้ฝุ่นโซนร้อน ดีเปรสชั่น

                    2.2 พายุฝนฟ้าคะนอง หรือ พายุฤดูร้อน เกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อนก่อนเริ่มฤดูฝน มักมีสาเหตุ

                          ฟ้าคะนอง มีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่า ฝนตกหนัก บางครั้งมีลูกเห็บตกด้วย



พายุทอร์นาโด มักเกิดบริเวณอ่าวเม็กซิโก และประเทศสหรัฐอเมริกา

               3. แผ่นดินไหว  เป็นภัยที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน เกิดจากการเคื่อนที่อย่างฉับพลัน

                   ของเปลือกโลก นอกจากนี้ยังเกิดจากภูเขาไฟปะทุ เหมืองถล่ม หรือการทดลองระเบิด

                   นิวเคลียร์



แผ่นดินไหว ทำให้แผ่นดินทรุดตัว


               4. คลื่นพายุ  เกิดขึ้นจากความรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อน ที่เคลื่อนตัวเข้าหาฝั่ง โดยมีความ

                   รุนแรงในรัศมีประมาณ 100 กิโลเมตร เช่น ปี พ.ศ. 2505 เกิดที่ชายฝั่งแหลมตะลุมพุก

                   จ. นครศรีธรรมราช



คลื่นพายุซัดฝั่ง

               5. สึนามิ คือ คลื่นขนาดใหญ่ซึ่งมักจะเกิดผลของแผ่นดินไหวรุนแรงในท้องทะเล หรือ

                   มหาสมุทร แล้วเคลื่อนถาโถมเข้าสู่ชายฝั่งอย่างรวดเร็วและรุนแรง



คลื่นสึนามิ


                    ผลกระทบจากความรุนแรงของภัยธรรมชาติ  มีดังนี้

                     1. ด้านร่างกาย

                          - ทำให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บ

                          - เกิดการเจ็บป่วยจากโรคระบาด

                          - อาจเสียชีวิต

                     2. ด้านสังคม

                          - เกิดโรคระบาดในชุมชน

                          - สิ่งก่อสร้างและสถานที่สำคัญถูกทำลาย

                          - แหล่งเกษตรกรรมถูกทำลาย

                     3. ด้านจิตใจ 

                          - เกิดความเครียด

                          - มีความวิตกกังวลสูง  



เด็กๆครับ เรามาลองทำแบบฝึกหัดกันนะครับ เรื่องภัยธรรมชาติ


แบบฝึกหัด



สรุปก่อนจบบทเรียน เรื่องภัยธรรมชาติ
















เรื่องสารเสพติด  (ชั่วโมงที่ 2)




นักเรียนมาศึกษาความรู้จากลิงค์ เรื่องสารเสพติด กันนะครับ





ขอให้ผู้ปกครองช่วยให้คำแนะนำแก่นักเรียนในเรื่องนี้ด้วยนะครับ


เด็กๆครับ มารู้จักกับเนื้อหาเกี่ยวกับ เรื่องสารเสพติด


           1. อันตรายจากการใช้สารเสพติด

               สารเสพติดก่อให้เกิดผลกระทบทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม ดังนี้




สารเสพติดมีอันตราย เป็นสาเหตุให้เกิดภัยบนท้องถนน


                1.1 อันตรายต่อผู้เสพ ซึ่งสามารถแบ่งได้ ดังนี้

                       - ด้านร่างกาย  ทำให้สภาพร่างกายทรุดโทรม สมองเสื่อม สติปัญญาลดลง เป็นต้น

                          แล้วถ้าเสพติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือใช้สารเสพติดเกินขนาดจะทำให้เสียชีวิตได้

                       - ด้านจิตใจ  ทำให้ซึมเศร้า หดหู่ ชอบแยกตัวไปอยู่คนเดียว คุ้มคลั่ง เกิดอาการ

                          ประสาทหลอน ซึ่งเป็นสาเหตุของการฆ่าตัวตายได้

                 1.2 ผลกระทบต่อครอบครัว ถ้าสมาชิกในบ้านเสพสารเสพติดจะทำให้เกิดปัญหาตามมา

                       มากมาย เช่น ทำให้ครอบครัวขาดความอบอุ่น และทำให้ครอบครัวแตกแยกได้

                 1.3 ผลกระทบต่อสังคม การที่มีคนในสังคมติดสารเสพติด จะเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิด

                       ปัญหาด้านอาชญากรรม ต่างๆ เช่น ลักทรัพย์ ปล้น ฆ่าตัดตอน เป็นต้น


              2. สาเหตุของการติดสารเสพติด  มีอยู่หลายประการ ดังนี้

                   2.1 ความอยากรู้อยากเห็น และอยากทดลอง

                   2.2 การถูกเพื่อนชักชวน

                   2.3 การถูกหลอกลวง

                   2.4 ความเชื่อที่ผิด

                   2.5 ปัญหาครอบครัว 

                   2.6 สภาพสิ่งแวดล้อม

              3. การป้องกันการติดสารเสพติด  เป็นปัญหาที่สำคัญมากของครอบครัว และสังคม ดังนั้น

                  เราจึงควรร่วมมือกันป้องกันสารเสพติด ดังนี้

                  3.1 ตัวเรา 

- ไม่ทดลองเสพสารเสพติดทุกชนิด

- มีปัญหาควรปรึกษาพ่อ แม่ ไม่ควรเก็บไว้

 - ไม่เข้าใกล้ผู้ที่เสพสารเสพติด

- ทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ในเวลาว่าง



                  3.2 ครอบครัว

- ทุกคนในบ้านคอยสอดส่องดูแลเอาใจใส่สมาชิก

   ในบ้านด้วยความห่วงใย

- เมื่อสมาชิกคนใดมีปัญหา ควรร่วมกันแก้ไข

   ปัญหาหรือให้กำลังใจ






                   3.3 โรงเรียน

- ครูควรอบรมเกี่ยวกับโทษ และวิธีการป้องกัน

   การติดสารเสพติด

- ควรช่วยกันจัดการรณรงค์ต่อต้านสารเสพติด





                   
                    3.4 ชุมชน

- สมาชิกในชุมชนตรวจสอบความเรียบร้อย

   ในชุมชน

- ถ้าพบเห็นสถานการณ์หรือการกระทำที่ผิดปกติ

   ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
  





                    3.5 หน่วยงานราชการ

- จัดการรณรงค์ต่อต้านสารเสพติด  

- ควรมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโทษ

  ของสารเสพติด

- ออกกฎหมายบังคับและลงโทษผู้เสพ ผู้ผลิต

  ผู้ขาย อย่างจริงจัง





เด็กๆครับ เรามาลองทำแบบฝึกหัดกันนะครับ เรื่องสารเสพติด


แบบฝึกหัด



สรุปก่อนจบบทเรียน เรื่องสารเสพติด