สุขศึกษา ป.4 เรื่องตัวเรา


หน่วยที่ 1 เรื่องตัวเรา



เรื่องที่ 1 พัฒนาการของเรา  (ชั่วโมงที่ 1)




นักเรียนมาศึกษาความรู้จากลิงค์ เรื่องพัฒนาการของเรา นะครับ





ขอให้ผู้ปกครองช่วยให้คำแนะนำแก่นักเรียนในเรื่องนี้ด้วยนะครับ

เด็กๆครับมารู้จักกับเนื้อหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย และจิตใจ ช่วงวัย 9 - 12 ปี นะครับ

          การเจริญเติบโต หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางด้านขนาด รูปร่าง ปริมาณ เช่น เราตัวสูงขึ้น

ตัวโตขึ้น อวัยวะต่างๆ ในร่างกายรวมถึงสมองจะเจริญขึ้นด้วย พัฒนาการ หมายถึง กระบวนการเจริญ

เติบโตในด้านต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ต่อเนื่องกันตลอดชีวิต ซึ่งท้าให้เรารู้อย่างคร่าวๆว่า เมื่อถึง

อายุช่วงใด จะมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง เช่น เด็กอายุ 9 - 12 เดือน จะเริ่มยืนได้เอง เด็กอายุ 1 ปีครึ่ง

ถึง 2 ปี เริ่มพูดได้ เหล่านี้เรียกว่าพัฒนาการ พัฒนาการของร่างกาย คือการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ

ของร่างกาย ซึ่งบ่งบอก ให้ทราบถึงการเจริญเติบโต ซึ่งแบ่งเป็นด้านต่างๆ คือ ด้านร่างกาย

ด้านจิตใจ อารมณ์  การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย ช่วงอายุ 9 - 12 ปี

มีน้ำหนัก และส่วนสูงที่เพิ่มขึ้น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พัฒนาการของร่างกาย


มีทักษะการเคลื่อนไหวที่คล่องแคล่ว


ชอบเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง



การประสานระหว่างมือและสายตาดีขึ้น




พัฒนาการทางด้านจิตใจ ช่วงอายุ 9 - 12 ปี

วัยเรียน
  
- ในช่วงแรกของวัยจะยึดตนเองเป็นหลัก

- เมื่ออายุ 10 - 11 ปี จะเริ่มควบคุมอารมณ์ไม่ได้

    - อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย

    - ชอบการถูกชมเชยยกย่อง

    - เข้าใจความรู้สึกของคนรอบข้าง


เด็กๆครับหลังจากนักเรียนได้ศึกษาเนื้อหา เรื่องของการพัฒนาการของการเปลี่ยนแปลง

ร่างกาย และด้านจิตใจแล้ว ลองมาทำแบบฝึกหัดดูครับ


แบบฝึกหัด

สรุปก่อนจบบทเรียน เรื่องพัฒนาการของเรา





เรื่องที่ 2  กล้ามเนื้อและกระดูก  (ชั่วโมงที่ 2)






นักเรียนมาศึกษาความรู้จากลิงค์  เรื่องประเภทของกล้ามเนื้อและกระดูก กันนะครับ



           เด็กๆครับ มารู้จักกับเนื้อหาเกี่ยวกับประเภทของกล้ามเนื้อและกระดูกตลอดจนข้อต่อ 


กันนะครับ

ประเภทของกล้ามเนื้อ

    กล้ามเนื้อในร่างกายแบ่งตามโครงสร้าง และลักษณะการทำงานเป็น 3 ประเภท คือ 

1. กล้ามเนื้อลาย (Skeletal Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานอยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ เป็นกล้ามเนื้อ
ที่เกาะอยู่กับกระดูก และมีบทบาทสำคัญต่อการเคลื่อนไหว
   
                         ร่างกาย  

อ้างอิง  http://www.pibul.ac.th/vichakan/sciweb/Biology42042/Movement/pic-movemen…

        กล้ามเนื้อลายประกอบด้วยเซลล์ลักษณะเป็นเส้นยาวจึงเรียกว่า ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber)
ความยาวของใยกล้ามเนื้อจะเท่ากับมัดกล้ามเนื้อที่ใยกล้ามเนื้อนั้นเป็นองค์ประกอบอยู่ ใยกล้ามเนื้อ
มีลายตาขวางและมีเยื่อหุ้มเซลล์ เรียกว่า ซาร์โคเลมมา (sarcolemma) ซึ่งมีเนื้อเยื่อประสานหุ้ม
อีกชั้นนึ่งเรียกว่า เอนโดไมเซียม (endomysium) ใยของกล้ามเนื้อลายมีนิวเคลียสหลายอันอยู่
ด้านข้างของเซลล์ เรียงตัวกันเป็นระยะตลอดแนวความยาวของเซลล์ แต่ละเซลล์มีปลายประสาท
มาเลี้ยง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการหดตัว ใยกล้ามเนื้อลายประกอบด้วยเส้นใยขนาดเล็กเรียกว่า 
ไมโอไฟบริล (myofibril) แต่ละไมโอไฟบริลประกอบด้วยฟิลาเมนท์ (filament) ซึ่ง มี 2 ชนิด คือ 
ชนิดหนา (thick filament) และชนิดบาง (thin filament) ใยกล้ามเนื้อหลาย ใยรวมกันเป็นมัด
กล้ามเนื้อ และมีเนื้อเยื่อประสานหุ้มเรียกว่า เพอริไมเซียม (perimysium) มัดของกล้ามเนื้อขนาดเล็ก
นี้รวมกันเป็นมัดใหญ่ และมีเนื้อเยื่อประสานเรียกว่า อีพิไมเซียม (epimysium) หุ้มอยู่ การทำงานของ
กล้ามเนื้อชนิดนี้อยู่ในอำนาจจิตใจ จึงเรียกว่า กล้ามเนื้อโวลันทารี (voluntary muscle)
อ้างอิง http://www.sport-fitness-advisor.com/images/muscle_anatomy.jpg

2. กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle)  เป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานนอกอำนาจจิตใจ พบที่อวัยวะภายใน
ของร่างกาย เช่น หลอดอาหาร หลอดเลือด เป็นต้นกล้ามเนื้อหัวใจเป็นเซลล์ที่มีรูปร่างคล้ายกระสวย
แต่ละเซลล์  มีนิวเคลียสอันเดียวอยู่ตรงกลางเซลล์ เซลล์ไม่มีลาย ตามขวางตรงรอยต่อของเยื่อหุ้ม
เซลล์บางส่วนจะมีบริเวณถ่ายทอดคลื่นประสาท เรียกว่าอินเตอร์คอนเนกติงบริดจ์
(interconnecting bridge) เพื่อถ่ายทอดคลื่น ประสาทไปยังเซลล์ข้างเคียง การทำงานของกล้ามเนื้อ
ชนิดนี้อยู่นอกอำนาจจิตใจ การหดตัวเกิดได้เองโดยมีเซลล์เริ่มต้นการทำงาน
(pace maker cell point) และการหดตัวถูกควบคุม โดยระบบประสาทอัตโนมัติ ดังนั้นกล้ามเนื้อ
ชนิดนี้ปลายประสาทจึงไม่ได้ไปเลี้ยงทุกเซลล์ ยกเว้นกล้ามเนื้อเรียบในบางส่วนของร่างกายมี
ปลายประสาทไปเลี้ยงทุกเซลล์ เช่น กล้ามเนื้อในลูกตา กล้ามเนื้อชนิดนี้เรียกว่า กล้ามเนื้อเรียบ
หลายหน่วย (multiunit smooth muscle) ส่วนกล้ามเนื้อเรียบ ชนิดแรกที่กล่าวถึง ในตอนต้นเรียกว่า
กล้ามเนื้อหน่วยเดียว (single unit smooth muscle)


อ้างอิง http://www.pibul.ac.th/vichakan/sciweb/Biology42042/Movement/pic-movemen…

3. กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscle)  เป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานนอกอำนาจจิตใจ พบที่หัวใจ
เพียงแห่งเดียว กล้ามเนื้อหัวใจมีเซลล์เป็นเส้นใยยาว มีลายตามขวาง เซลล์เรียงตัวหลายทิศทาง 
และเซลล์มีแขนงเชื่อมเซลล์อื่นเรียกว่า อินเตอร์คาเลทเตท ดิสค์ (intercalated disc) มีนิวเคลียส
อยู่ตรงกลางเซลล์ เป็นรูปไข่เซลล์ บางกลุ่มเปลี่ยนแปลงหน้าที่ไปเป็นเซลล์นำคลื่นประสาท 
(special conducting system) ซึ่งได้แก่ เอ-วี บันเดิล (A-V bundle) และเส้นใยเพอร์คินเจ 
(perkinje fiber) การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจอยู่นอกอำนาจจิตใจ และทำงานได้เอง
                                               
กระดูกและข้อต่อ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กระดูกละข้อต่อ ป.4
เพิ่มคำอธิบายภาพ


     โครงสร้างของร่างกายประกอบด้วยกระดูกที่แข็งมาต่อกันด้วยข้อต่อมีประโยชน์ในการช่วยพยุง 

ให้ร่างกายคงรูปและเคลื่อนไหวได้ แล้วยังช่วยป้องกันอวัยวะภายในด้วย
                                                              
                                                           โครงกระดูก


      โครงกระดูกเป็นโครงสร้างส่วนที่แข็งแรงมากอยู่ภายในลำตัวของเรา ในทารกแรกเกิด

มีกระดูกประมาณ ๓๐๐ ชิ้น เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่กระดูกจะเชื่อมต่อกันจนเหลือ ๒๐๖ ชิ้น ซึ่งมี

ความแข็งแรง แต่มีน้ำหนักเบา กระดูกมีส่วนประกอบของน้ำ แคลเซียมคาร์บอเนต และแคลเซียม

ฟอตเฟส ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ดังนี้


๑) โครงกระดูกส่วนที่เป็นแกนหรือส่วนของลำตัว มีอยู่ ๘๐ ชิ้น ได้แก่ กะโหลกศีรษะ กระดูกสันหลัง

    กระดูกอก และกระดูกซี่โครง


๒) โครงกระดูกส่วนที่เป็นรยางค์ หรือส่วนที่ยื่นออกไปจากลำตัว มีอยู่ ๑๒๖ ชิ้น ได้แก่ กระดูกไหล่

     แขน มือ กระดูกเชิงกราน ขา ข้อเท้า และเท้า


                                                               ข้อต่อ


        ข้อต่อเป็นจุดที่กระดูก ๒ ชิ้น มาเชื่อมต่อกันในร่างกาย มีประโยชน์ในการช่วยทำให้ร่างกาย

เคลื่อนไหวได้ ข้อต่อแบ่งออกเป็น ๓ ชนิด ดังนี้


๑) ชนิดเคลื่อนไหวไม่ได้ เช่น ข้อต่อในเบ้าฟัน และรอยต่อกระดูก กะโหลกศีรษะ เป็นต้น


๒) ชนิดเคลื่อนไหวได้บ้าง ข้อต่อชนิดนี้จะเชื่อมติดกันด้วยเอ็นยึดกระดูกซึ่งมีความเหนียว และ

     มีลักษณะเป็นเกลียว ข้อต่อชนิดนี้จะเคลื่อนไหวได้เล็กน้อย เช่น ข้อต่อในกระดูกสันหลัง


๓) ชนิดเคลื่อนไหวได้มาก  เป็นข้อต่อที่ประกอบด้วยกระดูก ๒ ชิ้น ขึ้นไป บริเวณตัวตอนปลาย

     ของกระดูกแต่ละท่อนจะมีกระดูกอ่อนที่มีลักษณะเหนียวเคลือบอยู่ ทำให้มีการยืดหยุ่นใน

     การเคลื่อนไหว ข้อต่อชนิดนี้พบบริเวณข้อต่อไหล่ ข้อต่อบริเวณโคนขากับกระดูกเชิงกราน


                                           หน้าที่สำคัญของกระดูกและข้อต่อ


๑) เป็นแกนยึดให้ร่างกายสามารถยืนขึ้นหรือเคลื่อนไหวได้


๒) ป้องกันอวัยวะสำคัญบางอย่างที่บอบบาง และถูกกระทบกระเทือน หรือถูกทำลายได้ง่าย

     เช่น สมอง ปอด หัวใจ เป็นต้น


๓) เป็นแหล่งเก็บสะสมธาตุแคลเซียม และผลิตเม็ดโลหิตจากโพรงภายในกระดูก


๔) เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อพังผืด และเอ็น เพื่อช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหวได้


                                            วิธีดูแลรักษาระบบโครงกระดูก


๑) ออกกำลังกายสม่ำเสมอ


๒) กินอาหารที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก เช่น อาหารที่มีแคลเซียมสูง นม 

    ปลาตัวเล็กๆ ผักใบเขียว


๓) ไม่เล่นรุนแรง เพื่อป้องกันไม่ให้กระดูกได้รับความกระทบกระเทือน

                            
                                         นักเรียนครับ เดี๋ยวมาทำแบบฝึกหัดกันนะครับ

เรื่องประเภทของกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อต่อ

คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามที่กำหนดให้ถูกต้อง


                                                         แบบทดสอบกล้ามเนื้อและกระดูก
                                
                                  สรุปก่อนจบบทเรียน เรื่องกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อต่อ