สื่อกับสุขภาพ

     ในปัจจุบัน ผู้บริโภคสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้จากสื่อที่หลากหลาย เช่น โทรทัศน์ 

อินเทอร์เน็ต สื่อสิ่งพิมพ์ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากสื่อเหล่านี้มีทั้งที่เป็นประโยชน์ 

และโทษต่อผู้บริโภค ดังนั้น ในการรับข้อมูลข่าวสาร ผู้บริโภคจึงควรพิจารณาให้ดี



1. อินเทอร์เน็ต

ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตเป็นที่นิยมใช้ในการนำเสนอเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ให้ประชาชนได้รับทราบ 

ซึ่งข้อมูลที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตมีทั้งข้อมูลที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ เช่น การเผยแพร่

ภาพลามก การลักลอบแอบดูข้อมูลส่วนตัวบนอินเทอร์เน็ต การโฆษณาเว็บไซต์ วิธีชักชวนให้

รวยเร็วทางลัด เป็นต้น ข้อมูลไม่เป็นประโยชน์อาจจะทำให้เราได้รับอันตราย เช่น ถูกล่อลวง

ให้ทำในสิ่งที่ผิดกฎหมาย ถูกล่วงละเมิดทางเพศ เป็นต้น ดังนั้น เราจึงควรรู้วิธีป้องกันอันตราย

จากอินเทอร์เน็ต ดังนี้

    1. ไม่บอกข้อมูลส่วนตัวของตนเองกับเพื่อนที่ติดต่อทางอินเทอร์เน็ต

    2. ไม่นัดพบกับบุคคลที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ต

    3. หากพบข้อความหรือเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม ไม่ควรเข้าไปดู

    4. ไม่ให้ถ่ายรูปกับคนที่ติดต่อผ่านทางอินเทอร์เน็ต

    5. ถ้าพบเว็บไซต์หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม ควรแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ

    6. ผู้ปกครองควรตั้งกฎกติกาในการเล่นอินเทอร์เน็ต

    
2. เกม

เกมคอมพิวเตอร์มีบทบาทสำคัญมากในเยาวชน ซึ่งเกมมีทั้งด้านที่เป็นประโยชน์ เช่น เสริมสร้าง

พื้นฐานในการใช้คอมพิวเตอร์ในอนาคต ฝึกสมาธิ เป็นต้น และด้านที่ทำให้เกิดโทษ เช่น 

การหมกมุ่นกับการเล่นเกม จะทำให้เสียการเรียน เสียสุขภาพ ทำให้มีนิสัยก้าวร้าวจากการ

เลียนแบบตัวการ์ตูนในเกม ขาดทักษะการเข้าสังคม เป็นต้น ดังนั้นเราจึงควรรู้จักป้องกัน

อันตรายจากการเล่นเกม ดังนี้

    1. กำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมในการเล่น

    2. ควรหาเวลาว่างในการทำกิจกรรมร่วมกับสมาชิกในครอบครัวด้วย

    3. มีน้ำใจนักกีฬาในการเล่นเกม

    4. ผู้ปกครองควรพิจารณาเลือกเกมที่เหมาะสมให้กับบุตรหลาน


3. สื่อโฆษณา

ในปัจจุบัน การโฆษณาจะพบในสื่อหลายชนิด เช่น วิทยุ  โทรทัศน์  นิตยสาร  โฆษณาตาม

รถโดยสาร เป็นต้น ซึ่งจุดประสงค์ของโฆษณาคือการดึงดูดให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจสินค้า

หรือบริการ เกิดทัศนะคติที่ดี และมีพฤติกรรมการซื้อขายอย่างยั่งยืน ดังนั้นผู้ผลิตโฆษณาจึงต้อง

หาสิ่งดึงดูดใจให้ผู้บริโภคสนใจ เช่น การใช้ดารามาเป็นผู้นำเสนอสินค้า การใช้ถ้อยคำที่แปลก 

แหวกแนว การสร้างเรื่องที่น่าติดตาม เป็นต้น  ในปัจจุบันโฆษณาบางชนิดมีข้อความหรือภาพที่

ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับการลดน้ำหนัก โฆษณาเครื่องดื่ม

แอลกอฮอล์ เป็นต้น สื่อโฆษณาเหล่านี้มีผลต่อการตัดสินใจทำตามโฆษณาซึ่งจะส่งผลเสีย

ต่อสุขภาพ ดังนั้นเราจึงควรรู้จักวิธีป้องกันตนเองจากสื่อโฆษณา ดังนี้

    1. ตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ

    2. ถ้ามีปัญหาสุขภาพ หรือปัญหาชีวิต ควรปรึกษาพ่อ แม่ ครู

    3. ถ้าพบสื่อโฆษณาที่เกินจริง ควรแจ้งให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการทางกฎหมาย

    4. หลีกเลี่ยงการซื้อหรืออ่านสื่อที่ไม่ปลอดภัย

    
4. รายการโทรทัศน์

ในปัจจุบันโทรทัศน์ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ทุกแห่งต้องแสดงสัญลักษณ์ของกลุ่มผู้ชมรายการ

โทรทัศน์ ทั้งก่อนและหลังการออกอากาศ เพื่อให้ผู้ชมได้มีโอกาสเลือกดูตามความเหมาะสม 

ดังนี้
ภาพสัญลักษณ์คำอธิบาย
รายการสำหรับเด็ก

ก่อนวัยเรียน (2 - 6 ปี)
สัญลักษณ์รูปหน้ายิ้มสีชมพู ตามด้วยตัวอักษร ก.ไก่


เป็นรายการที่เหมาะสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน อายุ 2 ถึง 6 ปี

รายการนี้มีลักษณะคล้ายกับ สัญลักษณ์ ด. แต่จะเน้นเจาะจง

ไปหาเด็กเล็ก ซึ่งรายการประเภทนี้ จะให้ความบันเทิง และ

สาระที่ดูสนุกสนาน สำหรับเด็กๆ ที่ควรจะได้รับชม

ตามความเหมาะสม
รายการสำหรับเด็ก (2-12 ปี)สัญลักษณ์รูปจิ๊กซอว์สีฟ้า ตามด้วยตัวอักษร ด.เด็ก


เป็นรายการที่เหมาะสำหรับเด็กอายุ 2 ถึง 12 ปี และผู้ชมทั่วไป

รายการนี้ จะจัดเน้นเนื้อหาสาระให้กับเด็กๆ การใช้สัญลักษณ์

รูปจิ๊กซอว์สีฟ้านั้น สื่อถึงการพัฒนาของเด็กๆ ที่จะต้องได้รับ

สาระจากรายการนี้ นอกจากนี้ ผู้ใหญ่สามารถให้คำแนะนำ

แก่เด็กๆ ในด้านของสาระความรู้จากรายการประเภทนี้
รายการทั่วไปเหมาะสำหรับผู้ชมทุกวัยสัญลักษณ์รูปบ้านสีเขียว ตามด้วยตัวอักษร ท.ทหาร


เป็นรายการทั่วไปที่เหมาะสมกับผู้ชมทุกเพศทุกวัย  รายการ

ประเภทนี้ เป็นรายการที่ให้สาระและความบันเทิงอย่างไม่มี

พิษภัยต่อเด็กและเยาวชน และมีแง่คิดดีๆ จากสาระให้กับ

ทุกเพศทุกวัย ซึ่งการใช้สัญลักษณ์รูปบ้านสีเขียวนั้น สื่อถึง

ครอบครัว ที่หมายถึงทุกคนสามารถรับชมรายการประเภทนี้ได้
รายการที่ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำสัญลักษณ์รูปเครื่องหมายถูกและผิดสีส้มอ่อน ตามด้วย

ตัวอักษร น.หนู


เป็นรายการที่ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำแก่เด็กๆ  รายการเหล่านี้

เป็นรายการที่มีเนื้อหาบางส่วนที่ผู้ปกครองของเด็กควรใช้

วิจารณญาณในการชม และควรแนะนำให้กับเด็กๆว่า เนื้อหา

ส่วนไหนที่ถูกหรือผิด ควรหรือไม่ควร และไม่ควรให้เด็กดู

รายการประเภทนี้ตามลำพัง ซึ่งจะต้องมีผู้ใหญ่มาแนะนำ

ระหว่างชม  สัญลักษณ์นี้จะมี 2 ประเภทย่อยออกไปอีก 
รายการที่ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำแก้ผู้ชมที่มีอายุต่ำกว่า 13 ปีตัวอักษร น.หนู ข้างล่างมีเลข 13 ไทย (๑๓)

เป็นรายการที่ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำแก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 13 ปี

ซึ่งจะเน้นหนักว่า ให้ผู้ปกครองแนะนำแก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 13 ปี 

เพราะมีเนื้อหาที่อาจไม่เหมาะสำหรับคนในวัยดังกล่าว
รายการที่ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำแก้ผู้ชมที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีตัวอักษร น.หนู ข้างล่างมีเลข 18 ไทย (๑๘)

เป็นรายการที่ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำแก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี

ซึ่งจะเน้นหนักว่า ให้ผู้ปกครองแนะนำแก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี 

เพราะมีเนื้อหาที่อาจไม่เหมาะสำหรับคนในวัยดังกล่าว
รายการเฉพาะ! ไม่เหมาะสำหรับเด็กและเยาวชนสัญลักษณ์รูปสายฟ้าสีแดง ตามด้วยตัวอักษร ฉ.ฉิ่ง


เป็นรายการเฉพาะผู้ใหญ่ ซึ่งไม่เหมาะสมต่อเด็กและเยาวชน

เมื่อเปิดเจอรายการที่เป็นลักษณะนี้แล้ว จึงไม่ควรให้เด็ก

และเยาวชนชม เนื่องจากจะมีเนื้อหาที่อันตรายอย่างชัดเจน

ซึ่งจะมีภาพที่ใช้ความก้าวร้าว รุนแรง น่ากลัว สะเทือนใจ มีผล

กระทบทางจิตใจ หรือลักษณะที่ไม่เหมาะสม และอาจมีภาพ

ที่มักจะเกี่ยวกับบางสิ่งที่เด็กไม่ควรเลียนแบบ เพื่อป้องกัน

การเลียนแบบของเด็ก จากเนื้อหาของรายการนั้นๆ